อิสระภาพทางการเงิน

วันพุธที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ผักพื้นบ้านมีดีที่เป็นยา

 ผักพื้นบ้านมีดีที่เป็นยา

1.ก้านตง
สรรพคุณ แก้พิษร้อนถอนพิษไข้
ส่วนที่นำมาใช้ ราก ใบอ่อน ยอดอ่อน
การปรุงอาหาร ใบอ่อน และยอดอ่อน นำมาต้มให้สุกรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือแกงแคร่วมกับผักอื่นๆ
2. ข่า
สรรพคุณ เหง้าแก่ รสร้อน เผ็ดปร่า ขับลม แก้ฟกช้ำ บวม  แก้พิษ ขับลมในลำไส้ รักษา กลากเกลื้อน
ส่วนที่นำมาใช้ เหง้าแก่ อ่อน ต้นอ่อน ดอกตูม
การปรุงอาหาร เหง้าใช้ปรุงพริกแกง ใส่ในต้มยำ ต้นและดอกกินสดได้ หรือลวกกินกับน้ำพริก
3.แค
สรรพคุณ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้หัวลม
ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ใบ ฝักอ่อน ดอก
กินอาหารให้เป็น ‘ยา’ thaihealth
การปรุงอาหาร ลวกจิ้มน้ำพริก หรือแกงส้ม
4.มะเขือพวง
สรรพคุณ ผลช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ
ส่วนที่นำมาใช้ ผลอ่อน
การปรุงอาหาร กินสดหรือต้มจิ้มน้ำพริก หรือนำไปแกง
5.ผักปลัง
สรรพคุณ ก้านช่วยแก้พิษฝี แก้ท้องผูก และลดไข้ ส่วนใบช่วยขับปัสสาวะ และบรรเทาอาการผื่นคัน
ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ใบ ดอกอ่อน
การปรุงอาหาร ลวกจิ้มน้ำพริก แกงส้ม แกงแค
6.ตำลึง
สรรพคุณ ใบมีรสเย็น ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้แสบคัน แก้เจ็บตา ตาแดง ส่วนต้นช่วยแก้โรคผิวหนัง และลดน้ำตาลในเลือด
ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ใบ ผลอ่อน
การปรุงอาหาร ลวกจิ้มน้ำพริก ผัด แกง ผลอ่อนนำไปดอง
7.มะระขี้นก
สรรพคุณ มีความเชื่อผิดๆ ว่ามะระขี้นกแก้โรคเอดส์ แต่ความจริง มะระขี้นกแค่ช่วยให้อาการดีขึ้นเท่านั้น เพราะมะระขี้นกทำให้เจริญอาหารและเป็นยาระบาย ช่วยแก้ลมเข้าข้อ หัวเข่าบวม บำรุงน้ำดี แก้โรคม้าม โรคตับ ขับพยาธิ น้ำต้มใบมะระเป็นยาระบายอ่อนๆ
ส่วนที่นำมาใช้ ยอด ใบ ผลอ่อน
การปรุงอาหาร ยอด ใบ ลวกจิ้มน้ำพริก ผลนำไปผัดหรือแกงได้
8.ชะพลู
สรรพคุณ ส่วนลูกขับเสมหะ ส่วนใบแก้ปวดท้อง จุกเสียด
ส่วนที่นำมาใช้ ใบ
การปรุงอาหาร กินกับเมี่ยงคำ แกงกะทิ หรือน้ำพริก กินได้ทั้งสดและลวก

การดูแลสุขภาพด้วยวิถีธรรมชาติ กินผักพื้นบ้าน ยิ่งถ้าเป็นผักปลอดสารพิษสดๆ ยิ่งจะได้ประโยชน์เต็มๆ ไม่มีสารตกค้างในร่างกาย กินเพื่อสุขภาพกาย และใจที่ดีของเรา เพราะวันไหนที่ป่วยขึ้นมาคงได้กินยาเป็นอาหารแทน เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ไปค่ะ! กินผักพื้นบ้านกัน แต่กินอิ่มแล้ว อย่าลืมออกกำลังกายด้วยนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รายละเอียดเพิ่มเติม

ฟ้าทะลายโจร

อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯ เผยฤทธิ์ฟ้าทะลายโจรไม่สามารถป้องกันโควิด19 แต่ใช้เสริมภูมิคุ้มกันได้ แนะวิธีรับประทานในกลุ่มผู้ป่วยอาการน้อยในระดั...